วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2561

กฎมือขวา

ทบทวนจากการเรียนฟิสิกส์
               จากการเรียนวันนี้ดิฉันได้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องแม่เหล็กมากยิ่งขึ้นซึ่งท่านอาจารย์ได้สอนวิธีในการหาสนามเเม่เหล็ก ทิศทางที่ประจุเคลื่อนที่ในสนามเเม่เหล็ก รวมถึงแรงเเม่เหล็กที่เกิดจากประจุวิ่งในสนามโดยการใช้ กฎมือขวา ในการช่วยกำหนดทิศที่ทั้งสนามเเม่เหล็ก ทิศทางที่ประจุเคลื่อนที่ในสนามเเม่เหล็ก รวมถึงแรงเเม่เหล็ก ซึ่งเพื่อเป็นการเสริมความเข้าใจมากยิ่งขึ้นจากที่เรียนมาดิฉันจึงค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมจากเว็บไซต์ต่างๆเเละนำข้อมูลมาฝากผู้ที่กำลังศึกษาเรื่องนี้เช่นกันค่ะ
สนามแม่เหล็กนั้นถูกนิยามขึ้นตามแรงที่มันกระทำ เช่นเดียวกับในกรณีของสนามไฟฟ้า ในระบบหน่วย SI แรงดังกล่าวนี้คือ
 
เมื่อ
F คือแรงที่เกิดขึ้น วัดในหน่วยนิวตัน
 \times \  เป็นสัญลักษณ์แสดง cross product ของเวกเตอร์
 q \  คือประจุไฟฟ้า วัดในหน่วยคูลอมบ์
 \mathbf{v} \  คือความเร็วของประจุไฟฟ้า  q \  วัดในหน่วยเมตรต่อวินาที
B คือความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็ก วัดในหน่วยเทสลา
กฎด้านบนนี้มีชื่อเรียกว่า กฎแรงของลอเรนซ์

การใช้กฎมือขวา
ภาพกระแสไฟฟ้าที่วิ่งวนเป็นบ่วง  ก็จะเกิดสนามแม่เหล็กดังภาพตามกฎมือขวา เมื่อเรากำกระแสโดยให้หัวแม่โป้งชี้ไปในทิศทางเดียวกับกระแส แล้วนิ้วที่เหลือจะชี้ตามทิศของสนามแม่เหล็ก  จะเห็นว่าสนามพุ่งเข้าบ่วงกระแสทางซ้ายมือแล้วออกทางขวามือ  เรานิยามว่าทิศทางที่กระแสออกจากบ่วงเป็นขั้วเหนือ(North) และทิศที่สนามแม่เหล็กพุ่งเข้าบ่วงกระแสเป็นขั้วใต้(South) ดังนั้นในภาพการเคลื่อนที่ของอิเลคตรอนในอะตอม  ขั้วแม่เหล็กเหนือ(สนามแม่เหล็กพุ่งออก)จึงอยู่ด้านล่าง 

 จากรูป  ใช้ กฎมือขวา สำหรับประจุบวกที่กำลังเคลื่อนที่โดยทำดังนี้ นำนิ้วทั้ง 4 (ชี้, กลาง, นาง, ก้อย) วางในทิศของความเร็วของประจุบวก,    และค่อยๆ งอนิ้วทั้ง 4 (เป็นมุมน้อยกว่า   ) เข้าหาทิศของสนามแม่เหล็ก,  , หัวนิ้วโป้งที่ตั้งขึ้นจะชี้ไปในทิศของแรง,  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น