วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2561

งานระบบ อินเวอร์เตอร์

Inverter คืออะไร??? มีหลักการทำงานอย่างไร


                  
อินเวอร์เตอร์ (Inverter) คือ อุปกรณ์ทางไฟฟ้า ที่ใช้สำหรับเปลี่ยนกระแสไฟฟ้าตรง
เป็นกระแสไฟฟ้าสลับ โดยไฟฟ้ากระแสตรงที่จะนำมาทำการเปลี่ยนนั้นมาจาก แบตเตอรี่
เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรงหรือแผงโซล่าเซลล์ก็ได้ ไฟฟ้ากระแสสลับที่ได้มานั้น
จะเหมือนกับไฟฟ้าที่ได้จากปลั๊กไฟตามบ้าน โดย อินเวอร์เตอร์ ทำให้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น
มอเตอร์ พัดลม หรืออุปกรณ์ตางๆที่ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ สามารถใช้ได้กับกระแสไฟฟ้าตรง

 
** ประโยชน์ของ Inverter 
1. ใช้เป็นแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับสำรอง เมื่อแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับหลักเกิดขัดข้องขึ้น
หรือที่เรียกกันว่า Uninteruptible Power Supplie (UPS) เป็นระบบไฟฟ้าสำรอง
สำหรับอุปกรณ์ที่สำคัญๆ เช่น คอมพิวเตอร์ มื่อแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับหลักเกิดขัดข้อง
Transfer Switch จะต่ออุปกรณ์เข้ากับ Inverter จ่ายไฟกระแสกลับให้แทน โดยแปลงจาก
แบตเตอรี่ที่ประจุไว้
2. ใช้ควบคุมความเร็วของมอร์เตอร์กระแสสลับ โดยการเปลี่ยนความถี่
เมื่อความถี่ของไฟฟ้ากระแสสลับเปลี่ยนแปลง ความเร็วของมอร์เตอร์จะเปลี่ยนแปลงตามสมการ
N=120f/N โดยที่ N=ความเร็วรอบต่อนาที, f=ความถี่ของแหล่งจ่ายไฟฟ้าต่อวินาที
และ P=จำนวนขั้วของมอร์เตอร์
3. ใช้แปลงไฟฟ้าจากระบบส่งกำลังไฟฟ้าแรงสูงชนิดกระแสตรง ให้เป็นชนิดกระแสสลับ
เพื่อจ่ายให้กับผู้ใช้

ความเร็วของมอเตอร์สามารถหาได้จากสูตร ดังต่อไปนี้
ความเร็วรอบ  N  =  {[120 * ความถี่ f (Hz)] / จำนวนขั้ว P} *  (1-S)
โดยเทอม 1-S กำหนดโดยโหลด
         
         จากสูตรข้างต้นจะพบว่า ถ้าความถี่ของแหล่งจ่ายไฟ เปลี่ยนแปลงไปก็มีผลทำให้
มอเตอร์มีความเร็วเปลี่ยนแปลงได้ด้วย แต่เมื่อทำการเปลี่ยนความถี่ โดยให้แรงดันคงที่
จะมีผลทำให้เกิดฟลักส์ แม่เหล็กเพิ่มมากขึ้นจนอิ่มตัว ซึ่งอาจทำให้มอเตอร์ ร้อน
จนเกิดความเสียหายได้ ดังนั้นจึงต้องทำการเปลี่ยน แรงดันควบคู่ไปกับความถี่ด้วย  
และการที่จะเปลี่ยนแปลง ความถี่ของแหล่งจ่ายไฟ สามารถทำได้โดย การใช้อินเวอร์เตอร์
ซึ่งมีหลักในการทำงานดังรูป


         จากรูป แหล่งจ่ายไฟกระแสสลับ จ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ ไปยังคอนเวอร์เตอร์
ซึ่งทำหน้าที่เปลี่ยนไฟฟ้ากระแสสลับให้เป็น ไฟฟ้ากระแสตรง แล้วนำไฟฟ้ากระแสตรงที่ได้
ต่อเป็นอินพุตเข้าไปในวงจรอินเวอร์เตอร์ ซึ่งทำหน้าที่เปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงนี้
เป็นไฟฟ้ากระแสสลับที่สามารถเลือก ความถี่ได้ เพื่อไปควบคุมมอเตอร์ให้มีความเร็วตามต้องการ

กฎมือขวา

ทบทวนจากการเรียนฟิสิกส์
               จากการเรียนวันนี้ดิฉันได้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องแม่เหล็กมากยิ่งขึ้นซึ่งท่านอาจารย์ได้สอนวิธีในการหาสนามเเม่เหล็ก ทิศทางที่ประจุเคลื่อนที่ในสนามเเม่เหล็ก รวมถึงแรงเเม่เหล็กที่เกิดจากประจุวิ่งในสนามโดยการใช้ กฎมือขวา ในการช่วยกำหนดทิศที่ทั้งสนามเเม่เหล็ก ทิศทางที่ประจุเคลื่อนที่ในสนามเเม่เหล็ก รวมถึงแรงเเม่เหล็ก ซึ่งเพื่อเป็นการเสริมความเข้าใจมากยิ่งขึ้นจากที่เรียนมาดิฉันจึงค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมจากเว็บไซต์ต่างๆเเละนำข้อมูลมาฝากผู้ที่กำลังศึกษาเรื่องนี้เช่นกันค่ะ
สนามแม่เหล็กนั้นถูกนิยามขึ้นตามแรงที่มันกระทำ เช่นเดียวกับในกรณีของสนามไฟฟ้า ในระบบหน่วย SI แรงดังกล่าวนี้คือ
 
เมื่อ
F คือแรงที่เกิดขึ้น วัดในหน่วยนิวตัน
 \times \  เป็นสัญลักษณ์แสดง cross product ของเวกเตอร์
 q \  คือประจุไฟฟ้า วัดในหน่วยคูลอมบ์
 \mathbf{v} \  คือความเร็วของประจุไฟฟ้า  q \  วัดในหน่วยเมตรต่อวินาที
B คือความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็ก วัดในหน่วยเทสลา
กฎด้านบนนี้มีชื่อเรียกว่า กฎแรงของลอเรนซ์

การใช้กฎมือขวา
ภาพกระแสไฟฟ้าที่วิ่งวนเป็นบ่วง  ก็จะเกิดสนามแม่เหล็กดังภาพตามกฎมือขวา เมื่อเรากำกระแสโดยให้หัวแม่โป้งชี้ไปในทิศทางเดียวกับกระแส แล้วนิ้วที่เหลือจะชี้ตามทิศของสนามแม่เหล็ก  จะเห็นว่าสนามพุ่งเข้าบ่วงกระแสทางซ้ายมือแล้วออกทางขวามือ  เรานิยามว่าทิศทางที่กระแสออกจากบ่วงเป็นขั้วเหนือ(North) และทิศที่สนามแม่เหล็กพุ่งเข้าบ่วงกระแสเป็นขั้วใต้(South) ดังนั้นในภาพการเคลื่อนที่ของอิเลคตรอนในอะตอม  ขั้วแม่เหล็กเหนือ(สนามแม่เหล็กพุ่งออก)จึงอยู่ด้านล่าง 

 จากรูป  ใช้ กฎมือขวา สำหรับประจุบวกที่กำลังเคลื่อนที่โดยทำดังนี้ นำนิ้วทั้ง 4 (ชี้, กลาง, นาง, ก้อย) วางในทิศของความเร็วของประจุบวก,    และค่อยๆ งอนิ้วทั้ง 4 (เป็นมุมน้อยกว่า   ) เข้าหาทิศของสนามแม่เหล็ก,  , หัวนิ้วโป้งที่ตั้งขึ้นจะชี้ไปในทิศของแรง,  

วิชา ระบบขนส่งไฟฟ้าทางราง

เรียน "ระบบราง" ไม่ตกงานรองรับคมนาคม-ขนส่งของประเทศ

ระบบราง,คมนาคม

เรียน "ระบบราง" ไม่ตกงานรองรับคมนาคม-ขนส่งของประเทศ : คอลัมน์... เจาะประเด็นร้อน โดย... ชุลีพร อร่ามเนตร


          อย่างที่ทราบกันดีว่ารัฐบาลผลักดันการคมนาคมขนส่งทางราง เช่น ระบบรถไฟธรรมดา รถไฟฟ้าในเมือง และรถไฟความเร็วสูง สถาบันการศึกษาจึงเปิดหลักสูตรไม่ว่าจะเป็นวิศวกรรมระบบราง หรือการบริหารจัดการระบบราง ผลิตบุคลากรที่จะป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรม ซึ่งจากการศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพบว่าภายในปี 2563 ประเทศมีความต้องการกำลังคนที่มีความเชี่ยวชาญด้านระบบรางสูงถึง 31,000 คนเป็นวิศวกร 6 พันคน ช่างเทคนิค 1.2 หมื่นคน และเจ้าหน้าที่ประจำสถานี 1.3 หมื่นคน
          ส่งผลให้ "การเรียนวิศวกรรมการจัดการธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับระบบราง” ได้รับความสนใจจากเด็กมากขึ้นกว่าในอดีต ซึ่งหากเรียนเกี่ยวกับระบบรางสามารถเข้าทำงานได้ อาทิ การรถไฟแห่งประเทศไทย บริษัทรถไฟฟ้า (บีทีเอส) และบริษัทรถไฟฟ้าใต้ดิน (เอ็มอาร์ทีเอ) กลุ่มบริษัทค้าปลีก และห้างสรรพสินค้าชั้นนำ บริษัทขนส่งและกระจายสินค้า
          รวมทั้งผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ กลุ่มบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ สร้างที่อยู่อาศัย บ้าน คอนโดมิเนียม และอพาร์ทเมนท์ กลุ่มบริษัท ผลิต และจัดจำหน่าย รถไฟและชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับรถไฟและระบบราง ทั้งในและต่างประเทศ และวิศวกรที่ปรึกษา ออกแบบ วิเคราะห์ระบบ และแก้ปัญหาในธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับระบบราง
เรียน "ระบบราง" ไม่ตกงานรองรับคมนาคม-ขนส่งของประเทศ

          นายนิพนธ์ จงพิทักษ์ศีล หัวหน้าหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีระบบราง วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ ม.รังสิต กล่าวว่ามหาวิทยาลัยได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยนิฮอง ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีชื่อเสียงทางด้านระบบรางประเทศญี่ปุ่น ส่งคณาจารย์มาร่วมสอนนักศึกษา และนักศึกษาจะได้ไปเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติที่ ม.นิฮอง หรือเลือกไปฝึกสหกิจศึกษาในบริษัทเอกชนประเทศญี่ปุ่นได้ โดยการเรียนการสอนเน้นแบบสหวิทยาการ นำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์รวมกับวิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมโยธา และการบริหารจัดการ ให้สามารถนำองค์ความรู้ทั้งหมดที่เรียนและฝึกปฏิบัติไปแก้ไขปัญหาในการทำงานทางด้านระบบราง



เรียน "ระบบราง" ไม่ตกงานรองรับคมนาคม-ขนส่งของประเทศ

          บัณฑิตที่จบการศึกษาจะสามารถดูแลตรวจสอบและซ่อมบำรุงระบบขับเคลื่อนยานพาหนะระบบราง สามารถควบคุม ตรวจสอบ และซ่อมบำรุงระบบควบคุมอาณัติสัญญาณ หรือผู้ควบคุมดูแลการทำงานหรืออาชีพที่ใช้ความรู้ทางด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีระบบราง ในบริษัทที่เกี่ยวข้อง เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย บริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (บีอีเอ็ม หรือรถไฟฟ้าใต้ดิน) บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) บีทีเอส) และบริษัทรถไฟฟ้า รฟท. จำกัด (รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงค์) ฯลฯ
 
          "บัณฑิตมีความรู้ความสามารถทั้งการควบคุมดูแลตรวจสอบ การซ่อมบำรุงและการบริหารจัดการ โดยเน้นการเรียนรู้จากปัญหาหน้างานจริง (Problem Based Learning) การฝึกปฏิบัติในสถานประกอบการ ทดลองในห้องปฏิบัติการ วางแผนโดยคำนึงถึงการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเสริมสร้างให้มีขีดความสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศในระยะยาว” นายนิพนธ์ กล่าว

เรียน "ระบบราง" ไม่ตกงานรองรับคมนาคม-ขนส่งของประเทศ

 
          อย่างไรก็ตามวิศวกรที่มีความรู้ทั้งด้านระบบรางและธุรกิจที่เกี่ยวข้องยังขาดแคลนมากในประเทศอาเซียน มีองค์กรและบริษัทต่างๆ มีความต้องบุคลากรสายตรงที่เกี่ยวข้องกับการจัดการธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับระบบรางไม่ต่ำกว่าปีละ 10,000 อัตรา ขณะที่ไทยมีความต้องการปีละไม่ต่ำกว่า 2,000 อัตรา แต่ขณะนี้ยังไม่มีสถาบันการศึกษาใดสามารถผลิตบุคลากรด้านวิศวกรรมการจัดการธุรกิจระบบราง
          น.ส.วัชรวี จันทรประกายกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (มกค.) กล่าวว่า การสร้างงานให้แก่วิศวกรไทยในอนาคตมีความจำเป็นและสำคัญมาก จึงเปิดหลักสูตรด้านระบบรางนำเสนอความรู้ทั้งด้านวิศวกรรมและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับระบบราง ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถด้านวิศวกรรมออกแบบ และจัดการระบบราง มีทักษะและประสบการณ์การเรียนรู้และการฝึกปฏิบัติ

เรียน "ระบบราง" ไม่ตกงานรองรับคมนาคม-ขนส่งของประเทศ

 
          การจัดการธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับระบบรางไม่ใช่เกี่ยวกับการซ่อม สร้าง หรือมีสถานีรางเท่านั้น แต่ต้องสร้างคนที่เกี่ยวกับธุรกิจที่ต่อเนื่องเชื่อมต่อกับโลจิสติกส์ รวมถึงการวางผังเมือง อย่าง การสร้างคอนโดเชื่อมโยงระบบราง การบริหารทรัพยากรทางกายภาพ หรือบริหารสถานี เพื่อสร้างรายได้        
          ทั้งนี้ ม.หอการค้าไทย ได้ร่วมกับวิทยาลัย Luizhou College ประเทศจีน และบริษัทรถไฟฟ้า รฟท. จำกัด พัฒนาหลักสูตรและผลิตบุคลากรที่มีองค์ความรู้การจัดการธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับระบบราง ตอบสนองความต้องการของภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นระบบรถไฟรางคู่ รถไฟความเร็วสูง รถไฟฟ้าบนดิน และรถไฟฟ้าใต้ดิน ซึ่งก่อสร้างในปัจจุบันและกำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต ครอบคลุม 76 จังหวัด รวมระยะทางมากกว่า 30,000 กิโลเมตร ผ่านย่านธุรกิจ การค้า และอุตสาหกรรม รวมทั้งพัฒนาสถานีและย่านธุรกิจโดยรอบ 76 จังหวัด ไม่น้อยกว่า 400 สถานี คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มกค. กล่าวว่า คนที่จะมาเรียนวิศวกรรมการจัดการธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับระบบรางไม่จำเป็นต้องเป็นเด็กที่ชื่นชอบวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมเท่านั้น แต่ขอให้สนใจระบบการขนส่งโลจิสติกส์ เนื่องจากไม่ใช่เฉพาะประเทศไทยเท่านั้นที่ต้องการกำลังคนด้านระบบราง แต่ประเทศเพื่อนบ้านก็ต้องการสูง ดังนั้นขอให้เด็กที่มาเรียนต้องชอบ รักอยากที่จะเรียนรู้และอยากร่วมพัฒนาระบบการขนส่งโลจิกติกส์ และต้องการนำความรู้ไปประยุกต์วางแผนและสร้างธุรกิจอิสระของตนเองที่สอดประสานกับการขยายตัวของระบบขนส่งทางรางด้วย

เรียน "ระบบราง" ไม่ตกงานรองรับคมนาคม-ขนส่งของประเทศ

          โดยผู้ที่สำเร็จการศึกษาสามารถประกอบอาชีพวิศวกรระบบราง, วิศวกรช่างซ่อมบำรุงระบบขับเคลื่อนยานพาหนะระบบราง, วิศวกรซ่อมบำรุงระบบควบคุมอาณัติสัญญาณ, ผู้ควบคุมดูแลการทำงานหรือเป็นผู้ปฏิบัติงาน และอาชีพที่ใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีระบบราง, วิศวกรโลจิสติกส์ของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ทั้งในภาคอุตสาหกรรมและบริการ, วิศวกรประจำคลังสินค้า, วิศวกรที่ปรึกษา, วิศวกรควบคุม, วิศวกรการจัดการ, วิศวกรวางแผน และวิเคราะห์ เป็นต้น

เปิดอ่าน 635

105